เซน (Zen) เป็นนิกายของศาสนาพุทธที่มีจุดกำเนินอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ถ้าจะเปรียบกับบ้านเราจะมีลักษณะเดียวกันกับสายวัดป่า โดยนิกายเซนอยู่บนหลักของความเป็นจริง ไม่เชื่อสิ่งงมงายหรือสิงศักดิ์ใด เน้นการฝึกสมาธิ ฝึกการใช้สติปัญญา เพื่อที่สามารถเข้าใจหลักธรรมด้วยตนเอง เป้าหมายสูงสุดของคนที่ปฏิบัติในวิถีเซน คือการได้บรรลุ “ซาโตริ” เรียกกันอีกอย่างว่า “การรู้แจ้ง” เมื่อสามารถที่จะละทิ้งความอยาก ความต้องการ และความรู้สึกไปได้ ก็จะหลุดพ้นจนมองทุกสิ่งเป็นความว่างเปล่า
โดยเซนนั้นไม่ได้ยึดในหลักคำสอนตามคำภรีใด แม้แต่พระไตรปิฎกเองด้วยเช่นกัน เพราะเชื่อว่าตัวหนังสือนั้นมีข้อจำกัด ไม่สามารถที่จะอธิบายเรื่องที่มีความลึกซึ้ง หรือชี้นำให้เกิดการรู้แจ้งได้ หมายความว่าทุกคนนั้น สามารถที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้ หากสามารถเข้าใจและควบคุมแก่นแท้ของจิตใจของตนเองได้ รูปแบบการปฏิบัติแบบเซนแบ่งออกได้ 3 อย่าง คือ
1.ชาเซ็น เป็นการนั่งทำสมาธิตามแบบพุทธศาสนา เพื่อให้จิตใจสงบ ก่อเกิดปัญญา
2.ซันเซ็น คือการปฏิบัติโดยมีอาจารย์ในการชี้นำ โดยจะเป็นรูปแบบของการตอบถามกันระหว่างลูกศิษย์และอาจารย์ อาศัยเน้นในเรื่องความเข้าใจของตัวศิษย์ หากอาจารย์เขย่าระฆังขึ้น แสดงว่าลูกศิษย์นั้นยังเข้าใจสิ่งที่กำลังศึกษาอยู่ไม่ถูกต้อง ซึ่งตัวลูกศิษย์จะต้องค้นหาคำตอบที่ถูกต้องต่อไป โดยทั่วไปแล้วจะจัดขึ้นวันละสองครั้งในวัด แม้ว่าบางสัปดาห์อาจเกิดขึ้นบ่อยครั้งถึงสี่ครั้งในหนึ่งวัน
3.มอนโด เป็นการตอบถามอย่างทันทีทันใด โดยอาจารย์จะเป็นคนที่คิดและถามออกมา ลูกศิษย์จะต้องตอบให้เร็วโดยอาศัยความคิดให้น้อยที่สุด จุงประสงค์คือการวิเคราะห์ว่าลูกศิษย์นั้นมีจิตใจอย่างไร ไม่ใช่คำตอบที่ถูกหรือไม่ถูกต้อง
การนำแนวคิดแบบเซนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
1.อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน คนเราล้วนต้องพึ่งพาต้นไม้ ผืนดิน ภูเขา หรือลำธาร การออกไปใช้ชีวิตใกล้ชิดกับสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้คลายความกังวลได้เสมอ
2.อาสาทำประโยชน์ การออกไปช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ ทำให้จิตใจเกิดความสงบ รู้สึกมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้อยู่ในความลำบาก
3.เวลาไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว เมื่อต้องทำอะไรทำอย่าทำด้วยความรีบร้อน ให้ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเป็นงานควรใช้เวลาให้มากเพื่อให้ออกมาดี เวลากินอาหารก็ใช้เวลาให้มากขึ้นกับการลิ้มรสชาติของวัตดุดิบ ค่อยๆ เคี้ยวอย่างช้าๆ เพื่อที่จะได้สัมผัสกับคุณค่าของอาหารที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรสชาติ
4.จัดสรรเวลาให้เหมาะสม วางแผนทุกอย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน หรือการท่องเที่ยว ป้องกันไม่ให้เกิดผิดพลาด ผิดหวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเครียด เพราะความเครียดเป็นตัวอันตรายที่จะส่งผลเสียหลายอย่าง โดยเฉพาะสภาพจิตใจของเรา
5.ความเงียบช่วยให้เกิดสติปัญญา บางครั้งเสียงในสภาพแวดล้อมรอบตัวก็หนวกหูเกินไป ลองใส่หูฟังโดยไม่เปิดเสียงเพลง หรือออกไปหาสถานที่เงียบๆ อยู่ซักพัก จะช่วยให้จิตใจสงบ ลดความเครียดสะสมจากชีวิตประจำวัน
ปัจจุบันนี้แนวคิดแบบเซนอยู่รอบตัวเรามากกว่าที่หลายคนคิด การศึกษาเซนไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นคนชาติไหน ศาสนาอะไร ใครก็สามารถศึกษาและปฏิบัติในแบบเซนได้ ไม่ว่าจะเป็นชาวพุทธ อิสลาม และคริสต์ เพราะทุกคนล้วนมีความเท่าเทียมกัน มีคุณสมบัติที่จะเข้าถึงธรรมได้เหมือนกันหมดหากปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ในประเทศไทยเองก็มีผู้ที่สนใจแนวคิดแบบนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนาอย่าง “พระธรรมโกศาจารย์” (พุทธทาสภิกขุ) กล่าวคือแนวคิดไหนที่ดีก็หยิบยกนำมาใช้ อันไหนไม่ดีก็ปล่อยมันทิ้งไป